ด้านการจัดการเรียนการสอน ของ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ไฟล์:ด้านการเรียนการสอน2 1 2550.jpg.jpg.jpgด้านการเรียนการสอนไฟล์:ด้านการเรียนการสอนรี1 1 2550.jpg.jpg.jpgด้านการเรียนการสอน
  • วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มีระบบและกลไกในการพัฒนาและบริหารหลักสูตรที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของวิทยาลัย มีการกำหนดคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ไว้อย่างชัดเจน มีหลักสูตรที่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ทุกระดับการศึกษา มีการออกแบบการเรียนการสอนและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญทุกหลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรเตรียมอุดมดนตรี หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มีการสนับสนุนการใช้ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนและการบริหารการศึกษา มีระบบการนำข้อมูลย้อนกลับมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง และมีโครงการพัฒนาบุคลากรและนิสิตที่ครอบคลุมเป้าประสงค์ในการผลิตบัณฑิตทางด้านดนตรี สนับสนุนงบประมาณในการผลิตเอกสาร ตำรา แก่คณาจารย์ทุกระดับวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มีระบบกลไกในการส่งเสริมและพัฒนานิสิตนักศึกษาตามศักยภาพให้ครอบคลุมทุกด้าน โดยจัดสวัสดิการและสิ่งอานวยความสะดวกที่เอื้อต่อการพัฒนาการเรียนรู้ของนิสิตมีแนวทางส่งเสริมการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสถาบันและคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา มีการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานิสิตที่จัดโดยสโมสรนิสิต สาขาวิชา มีการส่งเสริมให้นิสิตสามารถดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข มีแนวทางในการดูแล ติดตามนิสิต เพื่อให้ตระหนักในการปฏิบัติตามคุณธรรม จริยธรรม และวินัยนิสิต โดยเน้นให้ตระหนักถึงความสำคัญของวิชาชีพต่อการดำรงชีวิตในระหว่างการเป็นนิสิตและสังคมในอนาคต มีการส่งเสริมและสนับสนุนทรัพยากร สิ่งอานวยความสะดวก รวมทั้งบุคลากรในการดำเนินการเพื่อบูรณนาการเรียนการสอนเข้ากับพันธกิจด้านอื่นๆ ของวิทยาลัยมีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพนิสิตตามนโยบายของมหาวิทยาลัย และกระทรวงศึกษาธิการ

อันดับมหาวิทยาลัย

  • นอกจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยหน่วยงานในประเทศไทยแล้ว ยังมีหน่วยงานจัดอันดับมหาวิทยาลัยจากต่างประเทศอีกหลายหน่วยงาน ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีเกณฑ์การจัดอันดับและการให้คะแนนที่แตกต่างกัน ได้แก่

การจัดอันดับโดย Webometrics

  • การจัดอันดับมหาวิทยาลัยของเว็บโอเมตริกซ์ ประจำปี พ.ศ. 2559 จัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก อันดับ Webometrics จะบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ในเว็บไซต์ของสถาบัน โดยพิจารณาจากจำนวน Link ที่เชื่อมโยงเข้าสู่เว็บนั้นๆจากเว็บภายนอกโดยวัดจากการสืบค้นด้วยSearch Engine และนับจำนวนเอกสารตีพิมพ์ออนไลน์ในกลุ่มของไฟล์ .pdf .ps .ppt และ .doc และจำนวนเอกสารที่มีการอ้างอิง (Citation) แบบออนไลน์ผ่านกูเกิลสกอลาร์ (Google Scholar) โดยจะจัดอันดับปีละ 2 ครั้ง ได้แก่ เดือนมกราคม และ เดือนกรกฎาคม โดยล่าสุดการจัดอันดับรอบที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 12 ของประเทศไทย อันดับที่ 25 ของภูมิภาคอาเซียน อันดับที่ 279 ของเอเชีย และอยู่ในอันดับที่ 1156 ของโลก[1]
ไฟล์:หอแสดงดนตรี2 1 2550.jpg.jpgหอแสดงดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์

การจัดอันดับโดย SCImago Institutions Ranking

  • อันดับมหาวิทยาลัยโดย SCImago Institutions Ranking หรือ SIR ซึ่งเป็นการจัดอันดับสถาบันที่มีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ ในปี พ.ศ. 2553 มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่ 2863 ของโลก อันดับที่ 767 ของทวีปเอเชีย และเป็นอันดับ 15 ของประเทศไทย[2]

การจัดอันดับโดย University Ranking by Academic Performance

  • อันดับที่จัดโดย University Ranking by Academic Performance หรือ URAP ปี พ.ศ. 2558 มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับ 16 ของประเทศไทย และอันดับ 1767 ของโลก ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม B โดยมีพื้นฐานทางด้านวิชาการตรงตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คุณภาพและปริมาณของบทความตีพิมพ์ทางวิชาการ บทความวิจัย การเผยแพร่ และการอ้างอิง[3]
ไฟล์:MUE MSU2bannershow1 2550.jpg.jpgด้านการเรียนการสอนไฟล์:MUE MSU2bannershow1 2550 1 2550.jpg.jpgด้านการเรียนการสอนไฟล์:กลองยาว4 1 2550.jpg.jpgด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม